ข้อมูลโรงเรียน

 

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่41

ระบบการศึกษา

          โรงเรียน สังกัด พื้นที่รับผิดชอบของสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41

          จัดตั้งอย่างเป็นทางการวันที่  13  มิถุนายน  พ.ศ.2530  เปิดทำการสอนระดับก่อนประถม ถึงระดับประถมศึกษา ดำเนินการสอน 2 ภาคเรียน  ดังนี้

                   ภาคเรียนที่  1  เปิดวันที่ 16 พฤษภาคม  ถึง 10 ตุลาคม

                   ภาคเรียนที่  2  เปิดวันที่ 1 พฤศจิกายน  ถึง 31 มีนาคม

จำนวนครูและนักเรียน

          เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน 57 คน มีครู 2 คน

ปัจจุบันมีครูมีครูตำรวจตระเวนชายแดน  10  คน ผู้ดูแลเด็กเล็ก 2 คนและครูอัตราจ้าง 2 คน

มีนักเรียน 185 คน เป็นชาย 99 คน หญิง 86 คน  ดังนี้

อาณาเขต

ทิศเหนือ              ติดต่อบ้านสันเจริญ ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร
ทิศใต้ติดต่อบ้านสตงท่าสำราญ ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร
ทิศตะวันออกติดต่อบ้านน้ำรอบ ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร
ทิศตะวันตกติดต่อบ้านระโนด ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร       

การคมนาคม  

          ระยะทางจากหมู่บ้านถึงศาลากลางจังหวัด 72 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง71.9กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง 100 เมตร ใช้เวลาในการเดินทาง   1 ชั่วโมง 20 นาที

การบริการของรัฐ

          สถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพันวาล ระยะทางห่างจากหมู่บ้าน 15 กิโลเมตร

โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่ใกล้ที่สุด คือ โรงเรียนประชานิคม 4 ระยะทาง 20 กิโลเมตร

จำนวนประชากร / ครัวเรือน

มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 340 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 864 คน  เป็นชาย 440  คน หญิง 424  คน

ศาสนา / ภาษาที่ใช้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ภาษากลาง ภาษาอีสาน และภาษาใต้  

                                                                                                                                       

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน   ม่วง-ขาว

จำนวนครูและนักเรียน

          เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน 57 คน มีครู 2 คน

ปัจจุบันมีครูมีครูตำรวจตระเวนชายแดน  10  คน ผู้ดูแลเด็กเล็ก 2 คนและครูอัตราจ้าง 2 คน

มีนักเรียน 185 คน เป็นชาย 99 คน หญิง 86 คน  ดังนี้

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ ปีการศึกษา 2565

ลำดับที่ชื่อ – นามสกุลคุณวุฒิสังกัดความรับผิดชอบ
1ร้อยตำรวจตรีนภวัฒน์  พานิชกุลปริญญาตรี /นบ.บช.ตชด.– ครูใหญ่ – หลักสูตรสมเด็จย่า
2ดาบตำรวจวิรัตน์  แสงสมปวช./ช่างเชื่อมบช.ตชด.– โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน(พืชผัก)  
3ดาบตำรวจหญิงปาณิสรา  ป้องศรีปริญญาโท/รปศ.บช.ตชด.– โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา – ห้องสมุด  
4ดาบตำรวจจักรพันธ์  พลายด้วงมัธยมศึกษาปีที่ 6บช.ตชด.– โครงการฝึกอาชีพ – ผู้รับผิดชอบดูแลควบคุมคุณภาพน้ำในโรงเรียน  
5จ่าสิบตำรวจหญิงกัญญานี  นันสุนีย์ปริญญาตรี/รปศ.บช.ตชด.– โครงการส่งเสริมสหกรณ์  
6จ่าสิบตำรวจหญิงบารี  ปรีชารัตน์ปริญญาตรี/รปศ.บช.ตชด.– โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน (ประกอบเลี้ยง)
7สิบตำรวจเอกหญิงดวงพร  ไม้เรียงมัธยมศึกษาปีที่ 6บช.ตชด.-โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร – โครงการควบโรคขาดสารไอโอดีน
8สิบตำรวจเอกหญิงอริษา  ไลเลิศปริญญาตรี /นบ.บช.ตชด.– โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9สิบตำรวจเอกหญิงชลธิชา  เลาไธสงมัธยมศึกษาปีที่ 6บช.ตชด.– โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์  
10สิบตำรวจเอกยุทธนา  จริยามาปริญญาตรี /วทบ.บช.ตชด.– โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน(สัตว์)
11นางสาวดาวเรือง  ทองสุวรรณปริญญาตรี/ค.บ. บช.ตชด.– ครูประจำชั้นอนุบาล 3  
12นางสาวนภัสศรณ์  ปานทองปริญญาตรี/บธ.บ บช.ตชด.– ครูประจำชั้นอนุบาลอนุบาล 1,2
13    นางสาวอภิญญา  ธวัดดำ    ปริญญาตรี/ค.บ. ปฐมวัยสพป.ชพ.เขต 1– ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  
14นางสาววิชชุดา  เภาดนเด็นปริญญาตรี/ค.บ.วิทยาศาสตร์  อบจ.ชุมพร– ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวน  


โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตรสันตินิมิตร

ตำบล รับร่อ        อำเภอ ท่าแซะ จังหวัดชุมพร      ไปรษณีย์ ๘๖๑๔๐   

การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ

          ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นมา โรงเรียนดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2569 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

          1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมดุลในด้านพุทธิ-ศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ มีความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ

          2. เพื่อขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ ครอบครัวและชุมชนเกิดการพัฒนา ช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนและโรงเรียนไปพร้อม ๆ กัน

          3. เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นศูนย์บริการความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้กับผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษาหรือองค์กรอื่น ๆ ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละที่ สร้างความร่วมมือและเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

          เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หลักข้างต้น การพัฒนาตามแผนฯ ฉบับที่ 5 จึงกำหนดเป้าหมายหลัก 8 ข้อ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสรุปตามตัวชี้วัดได้ดังนี้

เป้าหมายหลักที่ 1  เสริมสร้างสุขภาพของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา

เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์มารดา มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนมีสุขภาวะที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

 

เป้าหมายหลักที่ 2   เพิ่มโอกาสทางการศึกษา

เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสศึกษาต่อมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของครูและโรงเรียนให้จัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์

นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ

ที่กำลังศึกษาอยู่  มีจำนวน   14   คน

เป้าหมายหลักที่ 3  เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางวิชาการและทางจริยธรรม

เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งวิชา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม

คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละกลุ่มสาระ (O-NET) ปีการศึกษา 2564

เป้าหมายหลักที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ

เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้อาชีพการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ และการจัดทำบัญชี งานอาชีพที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย  ตลอดจนมีลักษณะนิสัยและคุณธรรมจริยธรรมตามหลักและอุดมการณ์สหกรณ์

               

เป้าหมายหลักที่ 5  ปลูกจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นความงดงาม เกิดเป็นความปีติที่จะศึกษา เป็นความรัก ความผูกพัน หวงแหนในทรัพยากรของตน ร่วมในกระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เป้าหมายหลักที่ 6   เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอด

                              วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและของชาติไทย

เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย โดยทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง

เป้าหมายหลักที่ 7   ขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน

เพื่อขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็ง และพึ่งตนเองได้ ครอบครัว และชุมชนเกิดการพัฒนา ช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนและโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน

เป้าหมายหลักที่ 8   พัฒนาสถานศึกษาเป็นศูนย์บริการความรู้

เพื่อให้สถานศึกษาเป็นศูนย์บริการความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน สามารถในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้แก่สถานศึกษาอื่นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละที่ สร้างความร่วมมือและเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน